วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Lecture3:Museum Design Process

วันนี้อาจารย์ชักชวนให้พวกเราลองไป นิทรรศการ "บทเรียนในความมืด" (Dialogue in the Dark)




เเล้ว "บทเรียนในความมืด" (Dialogue in the Dark) คือ อะไร ?

คือ การจำลองให้เราเป็นคนตาบอด โดยการทำกิจกรรมในความมืดเป็นเวลา 1 ชม       

         เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกเมื่อ 10 ปีก่อนในเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมันนี โดยฝีมือของนาย อันเดรอัส  ไฮเน็คเค่ (Andreas Heinecke) จากไอเดียง่าย ๆ ของการ “ขายความมืด” นวัตกรรมความคิดชิ้นนี้ได้เติบโตขึ้นกลายเป็นลิขสิทธิ์ธุรกิจพิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดงมาแล้วในกว่า 15 เมืองทั่วโลก ทั้งฮัมบูร์ก แฟรงค์เฟิร์ต มิวนิค เวียนนา มิลาน แอตแลนต้า เม็กซิโกซิตี้ ไนโรบี เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง โตเกียว โซล สิงคโปร์ บาร์เซโลน่า และล่าสุดที่กรุงเทพฯ  ซึ่งในเมืองไทยก็จะอยู่ที่จามจุรีสแควร์ คะ   

       บางครั้ง Interactive ไม่จำเป็นต้องทำมาจากคอมพิวเตอร์เสมอไป อย่างเช่น สนามเด็กเล่น (Play ground ) ก็สามารถทำให้ Interactive ได้ 

ตัวอย่างเช่น 

1. การเปลี่ยน ป้ายบอกทาง (Directory) =>  Interactive Navigator
โดยไม่เพียงแสดงอยู้่ในรูปแบบของ "Text"  อาจจะอยู่ในรูปของ
-No Word
-Icon/ Info-graphic
-Sound 
เพราะเด็กๆยังไม่อ่านหนังสือไม่ออก เเต่สามารถเข้าใจด้วยการสื่อสารในรูปแบบอื่นๆตามข้างต้นได้
หรือ การนำ location based system(GPS)"  มาใช้นำทางในอาคาร

      นอกจากนี้ เรายังสามารถสร้างน่าสนใจให้กับ Model เปลี่ยนจากเดิม ที่ทำมาจาก ไม้ หิน ปูน พลาสติก เปลียนเป็น การใช้ project mapping ลงไปใน model แทน มันจะให้ความรู้สึกที่ WOW!! เเละ เปลี่ยน information หรือ texture จาก Model ได้ด้วย

2. Screen 
อาจใช้  น้ำ หรือ ควันมาเป็นจอรับภาพแทนได้

3.บันได
เปลี่ยนเป็นรุปแบบกระจก เเล้วใช้ เเสง เล่นกับบันได

4. Augmented Reality(AR)
เทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านทางอุปกรณ์ , กล่องมือถือ ,Computer รวมกับการใช้ software ต่างๆ ซึ่งจะทําให้ภาพที่เห็นในจอภาพจะเป็น object (คน,สัตว์,สิ่งของ,สัตว์ประหลาด,ยานอวกาศ) 3 มิติ ซึ่งมีมุมมองถึง 360 องศากันเลยทีเดียว


5.Virtual reality (VR)
เป็นการจำลองแบบของสภาพแวดล้อมจริง และจินตนาการที่แสดงออกมาเป็น virtual experience  3D
ทฤษฏีของการออกแบบนิทรรศการ (ก็ออกแบบคล้ายกับการ search engine)
Search engine ที่เรารู้จักกันดี ก็ได้แก่ google , yahoo, bing, sanook

โดยมีหัวใจหลักอยู่ 3 อย่างคือ
1.การสื่อสาร Communication
2.การกระตุ้น Simulation
3.แบ่งปัน Sharing


1).การสื่อสาร Communication
-โชว์ของ >> สื่อสารด้วยของที่มีอยู่ (Product เจ๋งอยู่เเล้ว)
-โชว์สมอง >> สื่อสารด้วยความคิดหรือไอเดีย (เอา Ideaเจ๋งๆ เข้าไปใส่ให้น่าสนใจ)

2).การกระตุ้น Simulation
-สนุก 
-ได้ค้นหา
-มีส่วนร่วม

3).แบ่งปัน Sharing
-ไม่เน้นอ่าน คือไม่ควรตัวหนังสือเยอะ
-ไม่เหมือนท่องเน็ท คือ ของจริงดูน่าตื่นตาตื่นใจ มากกว่า ข้อมูลในเน็ท
-สัมผัสได้ที่นี่เท่านั้น คือ หาได้จากที่นี่ที่เดียวในโลก

Design and Development Process
Conceptual framework
- What kind of museum is it?
- Exhibition approach
- Media palette
- Topics of exhibition
- Visitor flow
- Sketches

Conceptual Design
- Project administrative structure
- story-line Development (workshop) like story-board or story-telling.
- Design Brief
- Visitor flow
- conceptual floor plan layout (Interface)
- preliminary Design

Develop Design
follow next week..


New Vocabulary of week !
-Curator = ภัณฑารักษ์ >> คนที่ดูแล museum
-Bernstein zimmer   = ห้องหินอัมพัน
-Bernstein = หินอัมพัน
-zimmer  = ห้อง
-Green Computing = การใช้เทคโนโลยีที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
-Green screen = ฉากที่ไว้ตัดฉากหลัง ที่เลือกสีเขียว เพราะ เเยกได้หลายสีมากที่สุด

My opinion: การสร้าง interactive ไม่จำเป็นเลยว่า ต้องเป็นสิ่งที่สร้างจาก คอมพิวเตอร์ บางสิ่งบางอย่างที่สามารถดึงดูงใจคนได้ ก็ถือว่า เป็น interactive เช่นกัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น