วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Whole Body Interactive



           Today,I will talk about Whole Body Interactive. I conclude it with my partner, Kanin. It is concluded in Thai version.  



Whole Body Interactive
Chapter 1 : Whole Body Introduction An Introduction
  • การปฏิสัมพันธ์โดยใช้ทุกส่วนในร่างกาย คือ การจับภาพและประมวลผลสัญญาณที่ได้จากการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อนำไปใช้ในการสร้างการตอบโต้กันใน สภาพแวดล้อมแบบดิจิตอล (เป็นความจริงเสมือนซึ่งใช้แทนโลกในทฤษฎี ซึ่งรวมทั้งสิ่งต่างๆในคอมพิวเตอร์ ตลอดไปจนถึงระบบเครือข่าย พูดง่ายๆให้เข้าใจก็คือ โลกเสมือนที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล เช่น facebook มีavatarแทนแต่ละคน และ มีสังคม ที่คนมาคุยตอบโต้กัน เหมือนกับเราอยู่ในโลกจริงๆที่มานั่งถกกัน คุยกัน)
  • ความท้าทายในการสร้างระบบปฏิสัมพันธ์โดยใช้ทุกส่วนในร่างกาย คือ
    • จะออกแบบยังไง? เช่น Multi-user air guitar
      • เริ่มต้นด้วยการตั้งสมมติฐาน ว่า ผู้ใช้งานที่เป็นมนุษย์ทุกลักษณะมีความเกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์ และจะต้องลบองค์ประกอบที่ไม่ต้องการออกไป
      • ต่อมา คือ จะต้องกำหนดว่า เราจะนำองค์ประกอบต่างๆ มาใช้งานร่วมกันยังไง
      • การออกแบบที่จะใช้ในการปฏิสัมพันธ์ของแต่ละบุคคลก็จะถูกอธิบายรายละเอียดมากขึ้น
      • ขั้นตอนในการออกแบบก็จะถูกวนซ้ำไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละคนออกมา
      • สำหรับ Multi-user air guitar อาจจะใช้ optical flow ซึ่งเป็นทฤษฎีทาง digital image processing ที่จะคำนวณการเคลื่อนไหวของแสง เพื่อนำไปใช้ในการสร้างโน๊ตดนตรี แต่นั่นอาจจะเป็นวิธีที่ยากจนเกินไป โดยเราอาจจะนำ Piezoelectric ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนแรงกลต่างๆ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ง่ายมากขึ้น
    • ความรู้ทางวิศวกรรมที่จะนำมาใช้ในการปฏิสัมพันธ์? เช่น Wiimote ใช้อุปกรณืในการตรวจจับข้อมูลต่างจาก Kinect แต่ให้ข้อมูลที่เที่ยงตรง และตอบสนองได้รวดเร็วกว่ามาก
    • จะใช้หลักการอะไร? เช่น จะใช้เป็นการถ่ายภาพแล้วนำมาประมวลผล หรือจะใช้เป็นการเคลื่อนไหวจริง

Chapter 3 : Whole Body Interaction in Abstract Domains
  • Harmony Space เป็น ระบบ Interactive Digital Music ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ที่เริ่มต้น และผู้เชี่ยวชาญ มีความเข้าใจดนตรีมากขึ้น โดยใช้แนวคิดจากระบบดนตรี Tonality ซึ่งจะมีการแบ่งความสัมพันธ์ของแต่ละระดับเสียง(Pitch) ออกเป็นลำดับขั้น (Hierarchical) ซึ่ง Harmony Space จะใช้ dance mats, wii remotes และ projection screen ขนาดใหญ่ ในการควบคุมและแสดงผล
  • Harmony Space สามารถช่วยอธิบายทฤษฎีดนตรีแบบ Tonality ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจ และจับต้องได้ยาก ออกมาในรูปแบบของสิ่งที่เราสามารถปฏิสัมพันธ์กับมันได้จริง เป็นประสบการณ์ที่เป็นของจริง ซึ่งจะช่วยให้สามารถเรียนรู้และจดจำได้เร็วมากขึ้น นอกจากนี้ยังสนุกกับการเรียนรู้อีกด้วย


Chapter 8 : Whole Body Large Display Interfaces for Users and Designers
  • Body-centered model
คือ การให้ผู้ใช้ เป็นจุดโฟกัส ของการออกแบบและขั้นตอนการดำเนินงานแทนที่จะเป็น device, protocols  โดย designer จะออกเเบบตามการกระทำของมนุษย์
  • Why Body-Centered Interaction ?
เพราะ ในโลกของความเป็นจริง  ผู้ใช้งานไม่ต้องการถูกจำกัดการใช้งานอยู่ในกรอบของComputer โดยที่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ เช่น mouse , keyboard แต่ต้องการอิสระ ความยืดหยุ่น การใช้งานมากกว่านั้น
  • Large Surfaces and Large Displays?
เพราะ การที่มีพื้นผิวเเละพื่นที่ขนาดใหญ่ จะเเสดงความสามารถในการ interactive ได้อย่าง ยืดหยุ่น ได้แก่  tablet ,Whiteboards และ tack-boards
  • Example Interaction Techniques
    • Body-based tools.
    • Sharing protocols in which real-world physical actions.
  • Fitts' Law  
แนวคิด คือ  ระยะเวลาที่ใช้ในการไปถึงเป้าหมายใดๆ นั้นแปรผันไปตามขนาดของเป้าหมาย และ ระยะห่างที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น
  • Interaction spaces จะแบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ Personal space ,Peripersonal space ,Extrapersonal space


Chapter 10 : Capacitive Sensors for Whole Body Interaction
  • Capacitive Sensors
เป็น Sensor ที่ใช้สำหรับตรวจจับวัตถุโดยไม่ต้องสัมผัส ใช้ตรวจจับวัตถุได้ทุกชนิดทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ  โดยความสามารถในการตรวจจับขึ้นอยู่กับค่าคงที่ไดอิเล็กตริก (dielectric constant, k) ของวัตถุ
  • สาเหตุที่เลือกใช้
เพราะถูก,เล็ก , แข็งแรง ,มีความยืดหยุ่น,ฝังตัวในสภาพแวดล้อมต่างๆได้
  • หลักการทำงาน
อาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความจุ  เมื่อวัตถุเป้าหมายเคลื่อนที่เข้ามาใกล้สนามไฟฟ้าที่กำเนิดโดย  Active Electrode และ Earth Electrode  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างหน้าProximityและวัตถุเป้าหมาย ขนาดและรูปร่างของวัตถุ และชนิดของวัตถุเป้าหมาย (ค่าคงที่ไดอิเล็กตริก)   
  • Theremin

เป็นเครื่องดนตรีอีเล็คโทรนิคส์เก่าแก่ คิดค้นโดย Professor Leon Theremin อาศัยหลักการของคลื่นวิทยุ โดยผู้เล่นสามารถเล่นโดยไม่ต้องแตะต้องเครื่องดนตรีเลย  โดยวิธีการเล่น Thereminจะใช้มือสองมือเคลื่อนที่ไปมาระหว่างเสาอากาศสองต้น โดยระยะห่างระหว่างมือกับเสาอากาศต้นแรกใช้เป็นการกำหนดความถี่   และมือกับเสาต้นที่สองเป็นตัวกำหนดความดังของเสียง


จัดทำโดย
นางสาว ประกายดาว ทัศนีศรีวงศ์ 53211528
นาย คณิน                 หมายดี         53211567


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น