วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

Lecture 9 ที่โรงละครช้าง

วันนี้เราจะเดินทางไปโรงละครกัน นั้นก็คือ โรงละครช้าง ซึ่งอยู่ใกล้กับ มหาวิทยาลัยของเรานั้นเอง 
ถ้ายังจำกันได้ ก็คือโรงละครที่เคยพูดถึงตั้งแต่สัปดาห์แรกๆของการเรียน และวันนี้ ก็จะเป็นวันที่เจอ " อ.พิเชษฐ กลั่นชื่น " เจ้าของโรงละครช้าง กันค่ะ

เราออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยกัน ตอนห้าโมงเย็น และ ไปถึงที่นั้นประมาณห้าโมงครึ่ง
เราเดินทางกันด้วยวิธี นั่งรถกะป้อจากหน้ามอ แล้วไปลงตลาด 61 กัน จากนั้นก็เดินต่อเข้าไปในซอยอีกประมาณ 300 เมตร ซึ่งค่าใช้จ่ายการเดินทางทั้งหมด 6 บาทถ้วน!!!

ก่อนไปถึงแอบจินตนาการว่าจะโรงละครใหญ่โตแน่เลย แต่ปรากฏว่า โรงละครมีลักษณะเป็นบ้าน ซึ่งถ้ามองจากข้างนอกโดยผิวเผิ่น คนทั่วไปคงไม่รู้แน่ๆว่า ที่นี่คือเป็นโรงละคร  5555 แต่พอเข้าไปภายในบ้าน ก็พบห้องที่ดัดแปลงเป็นห้องซ้อมโรงละครขนาดเล็ก แต่พอเข้าไปเเล้วเหมือนกำลังอยู่ในโรงละครจริงๆเลย แต่แอบเสียดายที่เล็กไปหน่อย เลยไม่เพียงพอสำหรับ จำนวนคนในClass เราซักเท่าไหร่

เเละในที่สุดเราก็เจอ  " อ.พิเชษฐ กลั่นชื่น " ตัวเป็นๆ ซะที 

อาจารย์เล่าเรื่องราวที่เคยไปแสดงต่างประเทศให้ฟังคร่าวๆ และ แนวคิดการนำไฟมาแสดงร่วมกันการแสดง และคำพูดประโยคหนึ่งของอาจารย์ที่รู้สึกประทับใจมากๆ ก็คือ "บนเวที ไฟ ไม่ได้มีหน้าที่ให้แสงสว่าง มันสามารถให้ความหมายได้ ถ้าคุณสามารถทำได้อย่างนั้น คุณคือ artist ไม่ใช่ช่างไฟ" 
ฟังแล้วรู้สึกว่า โห หลอดไฟธรรมดาๆสามารถสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้การเต้นได้ขนาดนี้เชียวหรือเนี่ย

เป้าหมายของการไปครั้งนี้ก็คือ การไปคุยกับ อ. เกี่ยวกับ Concept ของงานชิ้นนี้ และ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การนำความรุ้ที่เราเรียนมาตลอดเทอม มาประยุกต์ใช้กับงานจริงๆ ที่ใช้จริงๆ ฟังแล้วก็รู้สึก ภูมิใจ ว่าเฮ้ยยงานเราจะได้เอาแสดงบนเวทีระดับโลกเลยหรอเนี่ย 

อ.พิเชษฐ เริ่มเล่า Concept การแสดงครั้งนี้ และสิ่งที่อยากให้พวกเรามาช่วยทำกัน  เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เลยเล่นการแสดง บางScene ให้เราดูกัน  ลองดูกันได้ตาม VDO ด้านล่างนี่ได้เลยคะ


เป็นไงกันบ้างคะ กับการแสดงชุดนี้ สำหรับดาว อยากบอกว่าดูจบเสร็จ "งง" มากเลย  55555  เพราะการแสดง Abstract มากๆ ยากเกินกว่า Engineer อย่างพวกเราจะเข้าใจ 55555  แต่พออาจารย์ค่อยๆเริ่มเฉลยว่า เป็นการสื่อถึงอะไร ก็ทำเข้าใจมากขึ้น ซึ่งเรื่องแบบนี้มันขึ้นกับ "ประสบการณ์" ของแต่ละคนนั้นเอง สงสัยเรายังอ่อนหัด และอ่อนประสบการณ์ไปนี่เอง 5555

อาจารย์ยังเล่าต่อว่า ตอนเราอยู่บนเวที เราไม่สามารถอนาจารทางร่างกายบนเวทีได้ แต่เราสามารถทำอนาจารกับความรู้สึกคนดูได้

โดย Concept ของการแสดงชุดนี้ มาจากเรื่องคือ นายใน นั้นเอง หลายคนคงสงสัยว่ามันคืออะไร ? ก็ลอง Search ดูได้ใน Internet หรือไม่ก็อ่านตาม Pantip ก็ได้  ก็น่าจะทำให้เข้าใจในการแสดงชุดนี้มากขึ้น 

และรูปด้านล่าง คือ การ Design ชุดการแสดงคร่าวๆโดยพี่โบว์   โดย นักแสดงจะเป็นผู้ชายทั้งหมด และชุดที่ใส่จะทำจากพลาสติกใส และ ใช้ LED ไปติดประดับบนชุดตามรูปเลย   



โดยเราจะนำ Sensor ไปติดตามจุดต่างๆ เเละ เมื่อ นักแสดง ทำการ interactive ในรูปแบบต่างๆ ก็จะนำไปสู่รูปแบบการแสดงไฟของหลอด LED ที่แตกต่างกันคะ

My Opinion:
จริงแล้วๆ การนำ เทคโนโลยี อย่างเช่น การใช้ sensor กับการแสดงนั้น จริงๆแล้วใน Dev โปรแกรมนั้นไม่ได้ยาก เพียงแต่ วิศวกรส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีหัวศิลปะกันซะเท่าไหร่ ผลงานที่ออกมาเลยไม่ค่อยน่าสนใจ แต่ถ้าหาก เอา Artist กับ Engineer มาทำงานร่วมกัน เชื่อได้เลยว่า งานที่ออกมา จะสวยและน่าตื่นเต้นแน่นอน เพราะไอเดีย หรือ Gimmick จาก Artist  จะสามารถสร้างได้ง่ายๆด้วย Engineer อย่างเรานี่เอง

ถ้าหากใครสนใจ ก็ลองไปชมการซ้อมการแสดงได้นะคะ แต่ก็ควรลองโทรไปถามหรือนัดซักนิดนะคะ เพราะไม่เช่นนั้นนอาจจะ ไปเสียเที่ยวได้ อิอิ เพราะ อ.ออกไปแสดงต่างประเทศค่อนข้างบ่อยคะ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น